วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนธุรกิจ


แผนธุรกิจ

แผนธุรกิจ Business plan
รวมเรื่องราวแผนธุรกิจ เนื่องหาบทความเกี่ยวกับแผนธุรกิจ การเริ่มต้นแผนธุรกิจ การเขียนแผนธุรกิจ เทคนิคการเขียนแผนธุรกิจ เคล็ดลับแผนธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจ คืออะไร ?

แผนธุรกิจ หรือ Business Plan คือแผนการดำเนินงานของธุรกิจ หรือโครงการหนึ่งๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น 1 – 3 ปี และในระยะยาว 3 – 5 ปี อันประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อธุรกิจทั้งทางด้านมหภาค (Macro Analysis) และจุลภาค (Micro Analysis) การวิเคราะห์ธุรกิจของโครงการในแง่มุมต่างๆ ทั้งทางด้านการตลาด ทางด้านการดำเนินงาน ทีมผู้บริหาร และทางด้านการเงิน เพื่อเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ และเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจ แนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต

ทำไมต้องมีแผนธุรกิจ ?

การเขียนแผนธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งและเป็นมาตรฐานในการทำธุรกิจสมัยใหม่ไปแล้วก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอกู้เงินหรือการขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อนำเงินมาลงทุน การขอเงินจาก Venture Capital หรือการใช้เงินลงทุนของตนเองก็ดี เนื่องจากจะทำให้เจ้าของกิจการ ผู้ร่วมธุรกิจ หรือธนาคารได้เห็นภาพรวมของโครงการ รวมถึงการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด จะให้ผลคุ้มทุนเมื่อใด มีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุนในโครงการนั้นๆ จริง โดยแผนธุรกิจนอกจากจะเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการแล้ว ยังเป็นแผนงานและแผนควบคุมการดำเนินงานของบริษัทได้อีกทางหนึ่งด้วย
ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

แผนธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้

  1. บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) เพื่อให้ผู้บริหารหรือผู้พิจารณาแผน ได้ทราบภาพรวมทั้งหมดของโครงการ และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน
  2. โครงสร้างอุตสาหกรรมของบริษัท (Industry Analysis) บอกถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมของโครงการ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของโครงการ
  3. การวิเคราะห์ตลาด (Marketing Analysis) เป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน สภาพการแข่งขันในตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมผู้บริโภค และการประมาณการยอดขายสินค้าและบริการ
  4. แผนการตลาด (Marketing Plan) การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งทางด้านสินค้าและบริการ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารทางการตลาด การบริหารการขาย และการรับประกันสินค้าและบริการ
  5. แผนการพัฒนาในอนาคต (Improvement Plan) แผนงานการพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัทในอนาคต
  6. แผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan) กลยุทธ์การดำเนินงาน สถานที่ตั้ง แผนการดำเนินงาน
  7. โครงสร้างองค์กร (Organization Plan) แผนผังองค์กร ทีมงานหลักในการบริหาร และหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ
  8. ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ (Business Profit) นโยบายทางการเงิน สมมติฐานการเงิน งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด เงินลงทุนและผลตอบแทน อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
  9. แผนการดำเนินงาน (Gantt Chart) แผนภาพระยะเวลาของการดำเนินงานในช่วงเวลาต่างๆ (Time Frame)
  10. แผนการควบคุม (Controlling Plan) แผนควบคุมการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
  11. แผนฉุกเฉิน (Emergency Plan) แผนสำรองหากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ หรือแผนการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต



โครงสร้างแผนธุรกิจ สำหรับ SMEs

1. บทสรุปผู้บริหาร
  • ความเป็นมาและสถานะของกิจการในปัจจุบัน
    • ชื่อและที่ตั้งกิจการ / ชื่อผู้บริหารที่สำคัญ / ประเภทสินค้าที่ขาย / ยี่ห้อสินค้า (ถ้ามี)
    • กลุ่มลูกค้าหลัก / ส่วนแบ่งตลาด / คู่แข่งที่สำคัญความสามารถในการแข่งขันของกิจการ
    • ฐานะของกิจการ (เงินทุน-เงินกู้) และผลประกอบการในปัจจุบัน
  • โอกาสทางธุรกิจ และแนวคิดในการจัดทำโครงการ
    • ความเป็นมาของโครงการ / วัตถุประสงค์ของโครงการ (เพื่อขยายสาขา / เพื่อจัดตั้งกิจการใหม่ / เพื่อปรับปรุงกิจการ)
    • การลงทุนในโครงการ และแหล่งที่มาของเงินทุน
  • วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนธุรกิจ (เพื่อขอสินเชื่อ , หาผู้ร่วมลงทุน หรือปรับปรุงกิจการ เป็นต้น)
  • กลยุทธ์ในการบริหารโครงการ
    • ด้านการจัดการ / การจัดซื้อสินค้าและการบริหารสินค้าคงคลัง / การตลาด และการเงิน
  • ผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการ
    • ระยะเวลาคืนทุน (Pay -back Period)
    • จุดคุ้มทุน (Break-even Point)
    • มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุน (NPV)
    • อัตราผลตอบแทนของการลงทุน (IRR)
2. ความเป็นมาของโครงการ
  • ประวัติ และความเป็นมาของกิจการ
    • แนวความคิดในการก่อตั้งกิจการ
    • ผู้ก่อตั้งกิจการ
    • ปีที่ก่อตั้ง
    • ทุนจดทะเบียน / ทุนที่ชำระแล้ว
    • การเติบโตของกิจการ (ได้แก่ การเพิ่มทุน การลงทุนขยายกิจการ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารฯลฯ)
    • ความสำเร็จครั้งสำคัญของกิจการ (ถ้ามี)
  • รายชื่อหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น และสัดส่วนหุ้นที่ถือครอง
  • ประวัติของหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น
  • สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ย้อนหลัง 3 ปี)
  • กรณีที่เป็นโครงการใหม่ ให้ระบุชัดเจนว่าจะเริ่มดำเนินงานเมื่อใด (จัดทำเป็นตารางแสดงขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดตั้งจนถึงวันเริ่มดำเนินงาน)
3. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
  • ภาพรวมของอุตสาหกรรม
  • แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม
  • มาตรฐานในการประกอบการในอุตสาหกรรม (เช่น ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO, QS, GMP, H A CCP ฯลฯ) ตลอดจน Benchmark อื่นๆ ที่สำคัญในอุตสาหกรรม
  • นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ (ถ้ามี)
4. การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT A nalysis)
  • จุดแข็งของกิจการ : ปัจจัยภายในที่ทำให้กิจการมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งหลัก / คู่แข่งรอง
  • จุดอ่อนของกิจการ : ปัจจัยภายในที่ทำให้กิจการมีความเสียเปรียบในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งหลัก / คู่แข่งรอง
  • โอกาสของธุรกิจ : ปัจจัยภายนอกที่จะเสริมให้กิจการเติบโตต่อไปในอนาคต
  • อุปสรรคของธุรกิจ : ปัจจัยภายนอกที่จะทำให้กิจการไม่รุ่งเรือง หรือเติบโตช้า
5. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย (Vision, Mission & Goals)
  • วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพของกิจการที่ต้องการจะเป็นในอนาคต โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน
  • พันธกิจ (Mission) คือ งานที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของกิจการ
  • เป้าหมาย (Goal) คือ การกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการจากพันธกิจของกิจการ โดยกำหนดเป็นข้อๆ แบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น (1 ปี) ระยะปานกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5 ปีขึ้นไป) ทั้งนี้เป้าหมายในแต่ละระยะเวลาควรสอดคล้องกัน สามารถวัดผลได้ และระบุเวลาที่แล้วเสร็จอย่างชัดเจน
6. แผนเชิงกลยุทธ์
  • กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy) คือสิ่งที่บอกถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของกิจการ ได้แก่
    • มุ่งเน้นการเติบโต (Growth Strategy) เป็นการขยายธุรกิจไปในทิศทางต่างๆ เช่น
      • ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เกื้อหนุนธุรกิจเดิม โดยเป็นธุรกิจที่อยู่ต้นทางหรือ ปลายทางของธุรกิจเดิม (Forward – Backward Integration )
      • ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่แตกต่างไปจากธุรกิจเดิมโดยสิ้นเชิง (Conglomerate Diversification) เพื่อกระจายความเสี่ยงของการลงทุน
      • จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ (A lliance Strategy) เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้ธุรกิจเดิมโดยไม่ต้องลงทุนเอง
    • กลยุทธ์คงตัว (Stability Strategy) ไม่มีการลงทุนใดๆ ในช่วงนี้ แต่มุ่งเน้นในธุรกิจเดิมให้เข้มแข็ง
    • การลดขนาดกิจการ (Retrenchment Strategy)
      • ขายทิ้งกิจการบางส่วน (ที่ไม่ทำกำไร หรือขาดทุน)
      • ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ (Restructure)
  • กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy) คือ การดึงจุดเด่นขององค์กรขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์และส่งเสริมกลยุทธ์ระดับองค์กร
    • เป็นผู้นำด้านต้นทุน (ที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน) (Cost Leadership Strategy) ทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาถูกกว่าคู่แข่ง
    • เน้นความแตกต่างของสินค้า (Differentiation Strategy) สามารถสร้าง Value A dded ใหม่ๆ ให้กับสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภค
    • มุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Focus Strategy) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ทำให้กิจการสามารถตั้งราคาสินค้าได้สูงขึ้น
  • กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Level Strategies) ในด้านต่างๆ ได้แก่
    • การบริหารจัดการ เป็นการสร้างระบบการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
    • การตลาด เป็นการกำหนดแผนงานด้านการตลาดเพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
    • การจัดซื้อสินค้า เป็นการกำหนดแผนงานด้านการจัดซื้อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
    • การเงิน เป็นการกำหนดแผนงานด้านการเงินให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
7. แผนการบริหารจัดการ (ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่)
  • รูปแบบธุรกิจ (กิจการเจ้าของคนเดียว , ห้างหุ้นส่วน , บริษัทจำกัด ฯลฯ)
  • โครงสร้างองค์กร และผังบริหาร
  • ทีมผู้บริหารและหลักการบริหารงาน
    • รายชื่อคณะกรรมการ และกรรมการบริหาร
    • ลักษณะการบริหารงาน (เช่น การรวมอำนาจ หรือกระจายอำนาจ เป็นต้น)
    • กรณีการจัดตั้งกิจการใหม่ ให้แสดงความสัมพันธ์ของการบริหารงานระหว่างกิจการเดิมและ กิจการใหม่ให้ชัดเจน
  • แผนด้านบุคลากร
  • กำลังคนในปัจจุบัน อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน และแผนด้านกำลังคน (การสรรหา และ จัดเตรียมบุคลากร)
  • แผนพัฒนาบุคลากร
  • ผู้สอบบัญชี และที่ปรึกษากฎหมาย ( ถ้ามี )
  • พันธมิตรทางธุรกิจ และการให้ความช่วยเหลือ ( ถ้ามี )
  • สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการจัดการ บริหารงานโครงการ
    • สรุปจุดเด่นด้านการจัดการ บริหารงานโครงการ
    • สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการจัดการ บริหารงานโครงการ
    • เป้าหมายทางการจัดการที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์
    • งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการจัดการ
8. แผนการตลาด (ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่)
• ภาพรวมของตลาด
  1. สภาวะทั่วไปของตลาด อธิบายย้อนหลัง 3 ปี และคาดการณ์ล่วงหน้า 3 ปี (ระบุที่มาของสมมติฐาน)
  2. ขนาด หรือมูลค่าการซื้อขายของตลาด (ระบุที่มาของตัวเลขหรือสมมติฐาน และข้อจำกัดในการประมาณการด้วย)
  3. ปริมาณความต้องการของตลาด / จำนวนผู้ซื้อในตลาด
  4. ปริมาณการค้าเพื่อตอบสนองตลาด / จำนวนผู้ค้าในตลาด
• ผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่าย
  1. ลักษณะและจุดเด่นผลิตภัณฑ์
  2. การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (ภาพที่ต้องการให้เป็นในสายตาของผู้บริโภค)
  3. ภาพตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ / สถานที่จัดจำหน่าย
  4. พื้นที่จำหน่าย และตลาดเป้าหมาย (ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นตลาดระดับท้องถิ่น หรือตลาดระดับประเทศ)
  5. ยอดขาย และส่วนแบ่งตลาด
• กลุ่มลูกค้า
  1. ลูกค้าเป้าหมายคือใคร
  2. ลูกค้ารายใหญ่ของกิจการ 5 อันดับแรก แจกแจงยอดขายสำหรับลูกค้าแต่ละราย และความสัมพันธ์กับลูกค้ารายพิเศษ (ถ้ามี)
  3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในอนาคตของโครงการคือใคร (สามารถขยายฐานลูกค้าได้หรือไม่)
• การแข่งขัน และคู่แข่ง
  1. สภาพการแข่งขันในตลาดปัจจุบัน
  2. คู่แข่งหลัก / คู่แข่งรองของกิจการ
  3. เปรียบเทียบยอดขาย หรือส่วนแบ่งตลาดของกิจการกับคู่แข่งหลัก
  4. เปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนระหว่างผลิตภัณฑ์ของกิจการกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง
  5. ลูกค้ากลุ่มเดิมมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งหรือไม่
  6. แนวโน้มการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่
• กลยุทธ์ทางการตลาด
  1. กลยุทธ์ด้านสินค้า / บริการ
  2. กลยุทธ์ด้านราคา
  3. กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย
  4. กลยุทธ์ด้านส่งเสริมการตลาดและการขาย
• สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการตลาด
  1. สรุปจุดเด่นด้านการตลาด
  2. สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการตลาด
  3. ยอดขาย / ส่วนแบ่งตลาด และเป้าหมายทางการตลาดอื่นๆ ที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์
  4. งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการตลาด
9. การวิเคราะห์ด้านเทคนิค หรือ กระบวนการซื้อมา-ขายไปของกิจการ (ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่)
• กระบวนการจัดซื้อสินค้าของกิจการ และกระบวนการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า (แสดงในรูป Flow Chart)
• ทำเลที่ตั้ง และแผนผังสถานที่ตั้งร้านค้า และคลังสินค้า (ถ้ามี)
  1. แผนที่ร้านค้า / คลังสินค้า (ถ้ามี)
  2. แผนผังภายในร้านค้า / คลังสินค้า (ถ้ามี)
  3. จำนวนพื้นที่ใช้สอย
  4. การได้มาซึ่งพื้นที่ (ซื้อหรือเช่า ระบุรายละเอียดการชำระเงิน ในกรณีที่เป็นการเช่าให้ระบุปีที่สัญญาเช่าหมดอายุ)
• สินทรัพย์ที่ใช้ในการซื้อ-ขายสินค้า
  1. รายการเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่สำคัญ (หากยังอยู่ระหว่างการชำระเงิน ให้ระบุรายละเอียด เงื่อนไขการชำระเงิน)
  2. อายุการใช้งาน
  3. การซ่อมแซม/บำรุง รักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์
• ต้นทุนสินค้าที่ขาย
  1. สินค้าสำคัญและซัพพลายเออร์หลักที่กิจการติดต่อด้วย
  2. สัดส่วนต้นทุนของกิจการ (ต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนค่าบริหาร)
  3. พยากรณ์ยอดซื้อสินค้า
• การบริหารสินค้าคงคลัง และนโยบายสินค้าคงคลัง
• การควบคุมคุณภาพการจัดซื้อสินค้า
• สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการซื้อ-ขายสินค้า
  1. สรุปจุดเด่นด้านการซื้อ-ขายสินค้า
  2. สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการซื้อ-ขายสินค้า
  3. เป้าหมายทางการซื้อ-ขายสินค้าที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์
  4. งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการจัดซื้อสินค้า / คลังสินค้า
10. แผนการเงิน
• การลงทุนในกิจการ (ก่อน การดำเนินงานตามโครงการ)
รายการ
แหล่งที่มา
รวม
ส่วนของเจ้าของ
เจ้าหนี้(กู้ยืม)
1. สินทรัพย์ถาวร
1.1 ที่ดิน
1.2 อาคาร
1.3 เครื่องจักร/อุปกรณ์
1.4 รถยนต์
1.5 เครื่องใช้สำนักงาน
1.6 อื่นๆ
รวมสินทรัพย์ถาวร
2.ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน
รวมค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน
3. เงินทุนหมุนเวียน
3.1 สินค้าคงเหลือเตรียมไว้ขาย
3.2 สินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อ
3.3 เงินสดสำรองไว้ใช้ในการดำเนินงาน
รวมเงินทุนหมุนเวียน
รวมต้นทุนโครงการทั้งสิ้น
อัตราส่วนเจ้าของ/เงินกู้
รายละเอียดเงินกู้ยืม (ถ้ามี)
  • ประเภทและวงเงินกู้
  • วัตถุประสงค์ของเงินกู้
  • อัตราดอกเบี้ย
  • การชำระคืนเงินต้น
  • ระยะเวลาปลอดหนี้
  • หลักประกันเงินกู้
• การลงทุนในโครงการใหม่
รายการ
แหล่งที่มา
รวม
ส่วนของเจ้าของ
เจ้าหนี้(กู้ยืม)
1. สินทรัพย์ถาวร
1.1 ที่ดิน
1.2 อาคาร
1.3 เครื่องจักร/อุปกรณ์
1.4 รถยนต์
1.5 เครื่องใช้สำนักงาน
1.6 อื่นๆ
รวมสินทรัพย์ถาวร
2.ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน
รวมค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน
3. เงินทุนหมุนเวียน
3.1 สินค้าคงเหลือเตรียมไว้ขาย
3.2 สินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อ
3.3 เงินสดสำรองไว้ใช้ในการดำเนินงาน
รวมเงินทุนหมุนเวียน
รวมต้นทุนโครงการทั้งสิ้น
อัตราส่วนเจ้าของ/เงินกู้
• แหล่งเงินที่ประสงค์จะขอกู้
• รายละเอียดเงินกู้ยืม (ถ้ามี)
  • ประเภทและวงเงินกู้
  • วัตถุประสงค์ของเงินกู้
  • อัตราดอกเบี้ย
  • การชำระคืนเงินต้น
  • ระยะเวลาปลอดหนี้
  • หลักประกันเงินกู้
• ประมาณการทางการเงินของกิจการในอนาคต 3-5 ปี
  • • สมมติฐานทางการบัญชีและการเงิน
    • อัตราการเพิ่ม/ลดของยอดขาย ต้นทุนสินค้าที่ขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารใน แต่ละปี
    • อัตราดอกเบี้ยจ่าย ประมาณจากอัตราดอกเบี้ยจ่ายของวงเงินกู้เดิม และวงเงินกู้ใหม่ที่คาดว่าจะกู้เพิ่ม
    • สัดส่วนการขายเงินสด : ขายเงินเชื่อ
    • ระยะเวลาในการให้เครดิตแก่ลูกค้า
    • นโยบายการให้ส่วนลดการค้า และส่วนลดเงินสด (ถ้ามี)
    • ระยะเวลาที่ได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้า
    • ระยะเวลาในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง
    • วิธีการตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวรแต่ละประเภท
    • อัตราภาษีเงินได้
  • • ประมาณการงบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดย
    • ประมาณการปีที่ 1 เป็นรายเดือน
    • ประมาณการปีที่ 2 และ 3 เป็นรายไตรมาส
    • ประมาณการหลังปีที่ 3 เป็นรายปี ( ถ้ามี )
• การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
• อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง หรือความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ( Liquidity Ratio)
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
• อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร ( Profitability Ratio )
  • - อัตรากำไรขั้นต้น ( Gross Profit Margin Ratio )
  • - อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ( Operating Profit Margin Ratio )
  • - กำไรสุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin)
  • - อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์รวม (Return on A sset – RO A)
  • - อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity – ROE)
• อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการจัดการเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management Ratio)
  • - อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total A ssets Turnover Ratio)
  • - ระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้ (A verage Collection Period – Day)
  • - ระยะเวลาในการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (A ccount Payable Turnover – Day)
  • - ระยะเวลาการเก็บสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover – Day)
• อัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้ และความสามารถในการก่อหนี้เพิ่ม
  • - อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (Debt Ratio)
  • - อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio)
  • - อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยจ่าย (Interest Coverage Ratio)
• วิเคราะห์การเติบโตของกิจการและแนวโน้มการเติบโต (Trend A nalysis)
รายการวิเคราะห์ย้อนหลังปีที่ 2ย้อนหลังปีที่ 1ปีปัจจุบันคาดการณ์ปีที่ 1คาดการณ์ปีที่ 2
ยอดขาย
ต้นทุนขาย
กำไรขั้นต้น
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
กำไรจากการดำเนินงาน
กำไรสุทธิ
สินทรัพย์รวม
หนี้สินรวม
• วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน
  • • ระยะเวลาคืนทุน (Pay-back Period)
  • • จุดคุ้มทุน (Brake-even Point)
  • • มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุน (Net Present Value : NPV)
  • • อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return : IRR)
• สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการเงิน
  • • สรุปจุดเด่นด้านการเงิน
  • • สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการเงิน
  • • เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์
11. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ
  • ปัจจัยที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ
  • ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ผลกระทบต่อโครงการ และแผนรองรับ (แนวทางการแก้ไข)
    ปัญหาผลกระทบแนวทางแก้ไข
    1. มีคู่แข่งเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น
    2. ต้นทุนสินค้าสูงกว่าที่ประมาณการไว้
    3. คู่แข่งตัดราคาขาย
    4. มีปัญหากับหุ้นส่วน
    5. เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ความต้องการ สินค้าลดลง
    6. ฯลฯ
  • การประเมินสถานการณ์จำลอง (Sensitivity A nalysis)
  • กรณีที่ดีกว่าปกติ (Best Case) เช่น ยอดขายเพิ่ม 10%
  • กรณีปกติ (Base Case) ยอดประมาณการปัจจุบัน
  • กรณีที่ต่ำกว่าปกติ (Worst Case) เช่น ยอดขายลด 10%
12. แผนการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบการ เช่น
  • การปรับปรุงระบบบัญชี / ระบบบัญชีสินค้าคงคลัง / การขนส่ง / การจัดเก็บ / ระบบการผลิต / การตลาด
  • การขอรับรองระบบมาตรฐาน เช่น ISO, GMP, H A CCP และอื่นๆ ที่จำเป็น
13. ภาคผนวก
(แหล่งที่มาของข้อมูล และสำเนาเอกสารต่างๆ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนามและประทับตรา (ถ้ามี)